อาการปวดข้อหรือปวดบวมในข้อเป็นหนึ่งในอาการนอกลำไส้ที่พบบ่อยที่สุดและสัมพันธ์กับโรคลำไส้แปรปรวน (ไอบีดี) และพบได้ในผู้ป่วยโรคโครห์นหรือลำไส้อักเสบ ราว 1 ใน 3 โดยยังอาจพบอาการม่านตาอักเสบและตาอักเสบ รวมถึงการอักเสบของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง
ชนิดของโรคโคร์นและลำไส้อักเสบ ความรุนแรงของโรค และระยะเวลานับตั้งแต่วินิจฉัยพบโรคล้วนส่งผลต่อแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาของข้อ
ความสัมพันธ์ระหว่างอาการของข้อและลำไส้มักเป็นประเด็นที่มักมองข้ามไป กระทั่งแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารเองก็อาจไม่ได้ซักถามอาการของข้อทุกครั้งซึ่งอาจส่งผลให้ตรวจไม่พบข้ออักเสบและได้รับการรักษาล่าช้า
ปรึกษาทีมผู้ให้การดูแลรักษาไอบีดีหรือแพทย์ของท่านหากท่านมีอาการปวดหรือบวมในข้อหรือบริเวณหลัง โดยเฉพาะหากมีข้อติดรุนแรงเกิดขึ้นในช่วงเช้า
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก่อให้เกิดการอักเสบในข้อและบริเวณโดยรอบ สาเหตุของกลไกดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ากลุ่มโปรตีนซึ่งทำหน้าที่ปกป้อง ร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติและก่อให้เกิดการอักเสบ ซึ่งรวมถึงโปรตีนที่เรียกว่า tumour necrosis factor (ทีเอ็นเอฟ)
สาเหตุของข้ออักเสบและโรคไอบีดีนั้นทับซ้อนกันอยู่ มีการเสนอว่าการที่ปัญหาข้อมักพบภายหลังการวินิจฉัยโรคโครห์นหรือลำไส้อักเสบบ่งชี้ว่าทั้งสองโรคมีสิ่งกระตุ้นปัจจัยด้านพันธุกรรม และการเปลี่ยนแปลงด้านการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่คล้ายคลึงกัน โดยมักพบยีนเอชแอลเอ-บี27 (human leukocyte antigen variant B27)ในผู้ที่มีอาการข้ออักเสบลักษณะนี้
อนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะทั้งสองระบบนี้รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Joint – Gut axis
อาการอาจเกิดขึ้นกับข้อกระดูกแกนกลางของลำตัว (โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง) หรือข้อกระดูกส่วนปลาย เช่น ข้อแขนและขา มีส่วนน้อยที่อาจเกิดอาการที่ข้อทั้งสองแบบ ข้ออักเสบและเอ็นอักเสบซึ่งสัมพันธ์กับโรคโครห์นและลำไส้อักเสบเรื้อรังเป็นหนึ่งใน กลุ่มโรคที่เรียกว่า spondyloarthritis (spondylo หมายถึงกระดูกสันหลัง) ส่วนข้ออักเสบซึ่งสัมพันธ์กับโรคโครห์นและลำไส้อักเสบเรียกว่า enteropathic arthritis (enteric หมายถึง เกี่ยวข้องกับลำไส้)
ข้ออักเสบชนิด peripheral spondyloarthritis อาจเกิดได้กับข้อดังต่อไปนี้ ไหล่, ข้อศอก, สะโพก, ข้อมือ, มือ, เข่า, ข้อเท้า
การวินิจฉัยปัญหาข้อประเมินจากผลตรวจร่างกายร่วมกับการซักประวัติอาการของท่าน ท่านอาจต้องตรวจเลือดเพื่อหาตัวบ่งชี้ของการอักเสบ ข้อซักถามของแพทย์ มักขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อที่มีปัญหา บางครั้งแพทย์อาจต้องเอกซเรย์เพื่อแยกจากโรคข้ออักเสบอื่น การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (เอ็มอาร์ไอ) สามารถตรวจการอักเสบในข้อแขน/ขาแม้ในระยะเริ่มแรก
การวินิจฉัยปัญหาข้อในข้อมือ เข่า ข้อศอก หรือมือ และเอ็นอักเสบสามารถประเมินจากตัวบ่งชี้ของการอักเสบและการแยกโรคข้ออักเสบชนิดอื่นแพทย์อาจตั้งคำถามดังต่อไปนี้เพื่อทำความเข้าใจอาการของท่าน:
การศึกษาชี้ว่าผู้ป่วยโรคโครห์นและลำไส้อักเสบจำนวนมากมีปัญหาปวดหลังและปวดข้อโดยไม่มีการอักเสบ (arthralgia) อาการปวดหลังพบได้ในผู้ป่วยราว 4 ใน 10 รายและราว 1 ใน 3 รายงานว่ามีอาการปวดเข่า ผู้ป่วยราว 1 ใน 4 รายงานว่ามีปัญหาปวดข้อที่มือและนิ้ว และอาการปวดไหล่พบได้ราว 2 ใน 10 ราย
อาการอ่อนเพลียพบได้บ่อยมากในผู้ป่วยโรคโครห์นหรือลำไส้อักเสบ โดยผู้ป่วย 3 ใน 4 มักมีอาการอ่อนเพลียในระหว่างโรคกำเริบ ข้อมูลชี้ว่าผู้ป่วยโรคโครห์นหรือลำไส้อักเสบซึ่งอยู่ในช่วงโรคสงบแต่ยังคงมีอาการข้ออักเสบมักมีแนวโน้มจะมีอาการอ่อนเพลีย
อาการอ่อนเพลียอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตประจำวันทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา หมดแรงหรือรู้สึกเหนื่อยมากโดยที่ไม่ดีขึ้นแม้ได้พักผ่อนหรือนอนหลับ ทั้งนี้อาการดูจะมีมากกว่าอาการเหนื่อยของคนทั่ว ๆ ไปหลังจากออกกำลังหรือใช้ความคิดอย่างหนัก
อาการอักเสบในข้อขนาดใหญ่มักสัมพันธ์กับโรคโครห์นหรือลำไส้อักเสบที่อยู่ในช่วงกำเริบ ดังนั้น หากท่านมีอาการของลำไส้กำเริบขึ้นก็มีแนวโน้มที่ปัญหาข้อจะแย่ลง อย่างไรก็ดี อาการข้อกระดูกสันหลังอักเสบและการอักเสบของข้อขนาดเล็กอาจกำเริบขึ้นโดยไม่สัมพันธ์กับอาการของลำไส้ เนื่องจากข้ออักเสบแต่ละชนิด มีรูปแบบการกำเริบต่างกันจึงส่งผลให้แนวทางการรักษาต่างกันไปตามชนิดของโรคและการกำเริบของปัญหาลำไส้
การรักษาด้วยยา ออกกำลังกาย และกายภาพบำบัดต่างก็มีประโยชน์ในการจัดการกับอาการข้ออักเสบ การควบคุมการอักเสบในลำไส้เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญ ของการรักษา หากควบคุมการอักเสบในลำไส้ได้ดีก็มักช่วยให้อาการข้ออักเสบที่แขนและขาดีขึ้น ยาสำหรับรักษาโรคโครห์นและลำไส้อักเสบหลายตัวก็ยังมีข้อบ่งใช้สำหรับ รักษาข้ออักเสบด้วย เช่น infliximab, adalimumab, golimumab และ ustekinumab
ปัญหาข้อที่เกิดขึ้นกับท่านอาจไม่ได้สัมพันธ์กับโรคโครห์นหรือลำไส้อักเสบทั้งหมด ข้ออักเสบอาจมีสาเหตุจากผลข้างเคียงจากยาบางตัวที่ใช้ในการรักษาไอบีดี การบาดเจ็บการติดเชื้อ หรือข้ออักเสบชนิดอื่น ด้วยเหตุนี้การวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดจึงมีความสำคัญ
ภาวะกระดูกตายพบได้น้อยมากแต่เป็นผลข้างเคียงร้ายแรงซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดข้อ โดยเกิดขึ้นจากยา steroids ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงกระดูกโดยเฉพาะหัวกระดูกต้นขาส่วนบนจนส่งผลให้ข้อสะโพกเสียหาย ปัญหาขาดเลือดไปเลี้ยงหัวกระดูกต้นขาส่วนล่างจนทำให้ข้อเข่าเสียหายพบได้น้อย การขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงนำไปสู่ภาวะกระดูกตายซึ่งทำให้กระดูกเสียหายถาวรและต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
อาการปวดข้ออาจมีสาเหตุจากการบาดเจ็บ เช่น การใช้ข้อมากเกินไปหรือเหยียดข้อมากเกินไป
โรคเกาต์เกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกในข้อ ทำให้เกิดอาการปวดฉับพลันและมักเกิดที่เท้า เข่า ข้อเท้า มือ และข้อมือ และพบบ่อยที่นิ้วโป้งเท้า
การอักเสบของข้ออาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (septic arthritis) และจำเป็นต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน แบคทีเรียสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางแผลไปตามกระแสเลือดจนทำให้เกิดการติดเชื้อในข้อหรือเกิดการติดเชื้อในข้อโดยตรงภายหลังการบาดเจ็บหรือระหว่างการผ่าตัด โดยมากมักเกิดที่ข้อตำแหน่งเดียวโดยมีอาการแสดง ได้แก่ ผิวเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม มีอาการปวดซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหว และมักมีอาการไข้สูง ท่านจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นหากได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อรักษา โรคโครห์นหรือลำไส้อักเสบ
ปัญหาข้ออาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของท่าน การเคลื่อนไหวได้จำกัด และอาการปวดอาจส่งผลต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันรวมถึงการทำงาน การออกกำลังกาย และการเข้าสังคม ปัญหาข้ออาจกลายเป็นปัญหาสำคัญ ทั้งในระยะสั้นหรือระยะยาวสำหรับผู้ป่วยบางราย อย่างไรก็ดี ทีมผู้ให้การดูแลรักษา ไอบีดีและแพทย์โรคข้อและรูมาติสซัมจะพิจารณาการรักษาที่มีประสิทธิภาพ สำหรับรักษาและจัดการปัญหาข้อของท่าน
การศึกษาวิจัยชี้ว่าผู้ป่วยข้ออักเสบมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเป็นโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้ามีอาการแสดงหลายอย่าง ปรึกษาทีมผู้ให้การดูแลรักษาไอบีดี แพทย์ หรือผู้ที่ท่านไว้ใจหากท่านรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง หรือหมดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ โดยมีอาการมาแล้วหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน และอาการนั้นรบกวนการทำงาน ชีวิตครอบครัว หรือการเข้าสังคมของท่าน
การรับประทานยาและให้ร่วมมือกับทีมผู้ให้การดูแลรักษาไอบีดีเพื่อจัดการกับโรคของท่านจะช่วยจัดการกับปัญหาข้อได้อย่างดีที่สุด การรับประทานยาให้เป็นกิจวัตรอาจเป็นเรื่องท้าทายแต่ท่านจะจดจำการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งได้ง่ายขึ้นเมื่อพบว่ายาช่วยให้อาการของท่านดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี เมื่อท่านรู้สึกดีขึ้นและเริ่มลดความกังวลต่ออาการก็อาจลืมรับประทานยาบางมื้อ หรืออาจอยากจะหยุดยาไปเลยโดยคิดว่าท่านรู้สึกดีขึ้นและไม่จำเป็นต้องใช้ยา
การรับประทานยาอย่างต่อเนื่องแม้ไม่มีอาการจะลดความเสี่ยงต่อโรคกำเริบ การกำเริบซ้ำซ้อนไม่เพียงทำให้เกิดอาการเรื้อรัง แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายถาวรในลำไส้ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน รวมถึงลำไส้ตีบ หรือฝี
หลักฐานชี้ว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อข้ออักเสบ
การออกกำลังกายช่วยบรรเทาปัญหาข้อและทำให้ท่านมีอารมณ์ดีขึ้น ท่านอาจทดลองออกกำลังกายวิธีต่าง ๆ ในแต่ละช่วงของวัน เช่น ในช่วงเช้าหลังตื่นนอน ซึ่งอาการตึงมักรุนแรงที่สุด แม้อาจดูเป็นการลองผิดลองถูก แต่การพบสิ่งที่เหมาะสมสำหรับท่านก็ถือว่าคุ้มค่า
ท่านสามารถดูแลข้อโดยลดแรงกดต่อข้อได้ดังนี้
ผู้ป่วยโรคโครห์นหรือลำไส้อักเสบอาจปรึกษานายจ้างเพื่อปรับเปลี่ยนการทำงาน ดังนี้