การรับวัคซีนในผู้ป่วย IBD : IBD AND KEEPING UP WITH IMMUNIZATION

วัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับป้องกันโรคในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และยิ่งมีความสำคัญในผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressants) เพื่อควบคุมโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (ไอบีดี) อย่างไรก็ดีมีข้อควรพิจารณาบางประการสำหรับผู้ป่วย
ไอบีดีก่อนเข้ารับวัคซีน

โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยไอบีดีควรรับวัคซีนสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ตามกำหนดโดยเฉพาะวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรืออาจต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันอาจจำเป็นต้องได้รับวัคซีนอื่นเพิ่มเติม

วัคซีนบางรายการเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น (ประกอบด้วยไวรัสหรือแบคทีเรียซึ่งมีฤทธิ์อ่อนลง) วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอาจไม่ปลอดภัยในระหว่างที่ท่านได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาtofacitinib ยาปรับภูมิคุ้มกัน (เช่น azathioprine, 6MP หรือ methotrexate) หรือยาชีววัตถุ (เช่น adalimumab, certolizumabpegol, infliximab, ustekinumab หรือ vedolizumab1)

แพทย์ของท่านอาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตายหากทำได้ ทั้งนี้ท่านควรปรึกษาแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารถึงความเสี่ยง ประโยชน์ และความปลอดภัยของวัคซีนก่อนฉีดวัคซีนทุกรายการ

วัคซีนชนิดเชื้อเป็นที่ใช้กันทั่วไปได้แก่
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดพ่นจมูก*
  • วัคซีน MMR (วัคซีนโรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน)
  • วัคซีนอีสุกอีใส
  • วัคซีนงูสวัด*
  • วัคซีนไข้ไทฟอยด์ชนิดรับประทาน*
  • วัคซีนไข้เหลือง
    * มีวัคซีนในรูปแบบเชื้อตาย (วัคซีนที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อโรคที่ตายแล้ว)
สำหรับวัคซีน COVID-19 ทุกชนิดมีความปลอดภัยและสามารถฉีดได้ในผู้ป่วยไอบีดี2
  • วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม (Messenger RNA vaccines): Pfizer, Moderna
  • วัคซีนชนิดที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccines): AstraZeneca, Johnson & Johnson, Sputnik V
  • วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccines): Novavax
  • วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccines): Sinovac, Sinopharm

ท่านสามารถตรวจสอบรายการวัคซีน รวมถึงตารางการรับวัคซีนสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ได้จากตาราง US Vaccine Table ที่เว็บไซต์ของ Centers for Disease and Control and Prevention (CDC)

รายการอ้างอิง

1. Farraye FA, Melmed GY, Lichtenstein GR, Kane SV. ACG clinical guideline: preventive care in inflammatory bowel disease. Official journal of the American College of Gastroenterology| ACG. 2017 Feb 1;112(2):241-58.

2. Siegel CA, Melmed GY, McGovern DP, Rai V, Krammer F, Rubin DT, Abreu MT, Dubinsky MC. SARS-CoV-2 vaccination for patients with inflammatory bowel diseases: recommendations from an international consensus meeting. Gut. 2021 Apr 1;70(4):635-40.

ที่มา
https://www.crohnscolitisfoundation.org/sites/default/files/2019-08/Immunization%202019.pdf