โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังอาจแสดงอาการได้หลากหลายตั้งแต่อาการในระดับเล็กน้อยถึงรุนแรง มากขึ้นกับ ตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ที่เกิดการอักเสบและความกว้างของบริเวณที่เกิดโรค ดังนี้

การรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

เป้าหมายในการรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง คือ บรรเทาอาการของโรค ลดการอักเสบ ทำให้โรคสงบ (remission) ให้นานที่สุด การรักษามีทั้งการใช้ยาหรือการผ่าตัด โดยจะนิยมเริ่มการรักษาด้วยยา ชนิดของยาจะขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของลำไส้ใหญ่ที่เกิดโรค โดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการมักจะดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์ กลุ่มยาที่มีการใช้ ในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ได้แก่
1
ซัลฟาซาลาซีน
(sulfasalazine)
เป็นยาที่ช่วยลดการอักเสบของลำไส้ เหมาะในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง
2
ยากลุ่มอะมิโนซาลิซีลิก แอซิด
(aminosalicylic acid)
เช่น เมซาลาซีน (mesalazine) ออลซาลาซีน (olsalazine) ช่วยลดการอักเสบของลำไส้ เหมาะในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางเหมือนซัลฟาซาลาซีน แต่อาการข้างเคียงน้อยกว่า และราคาแพงกว่า ยากลุ่มนี้นอกจากรูปแบบรับประทาน รูปแบบสวนทวารหรือเหน็บทวาร ซึ่งจะมีข้อดี คือ ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่ารูปแบบรับประทาน จะเหมาะในผู้ป่วยที่มีรอยโรคหรือการอักเสบบริเวณทวารหนักหรือเหนือทวารหนักไปเล็กน้อย
3
ยาปฏิชีวนะ
เช่น ซิโปรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin) เมโทรนิดาโซล (metronidazole)
เหมาะในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
4
สเตียรอยด์
(steroids)
มีฤทธิ์ต้านอักเสบโดยการกดภูมิคุ้มกันที่มากผิดปกติ จะเหมาะในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังที่มีระดับอาการปานกลางถึงรุนแรง
5
ยาปรับภูมิคุ้มกัน
(immunomodulators)
ออกฤทธิ์ช่วยกดภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มากผิดปกติ และทดแทนในรายที่ต้องรับประทานสเตียรอยด์อยู่นานๆ
6
ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ หรือ ไบโอโลจิค
(biologics)
ออกฤทธิ์ยับยั้งกลไกการเกิดการอักเสบในระบบภูมิคุ้มกัน เหมาะกับผู้ที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถรับประทานสเตียรอยด์และยาปรับกดภูมินานๆ แต่มีราคาค่อนข้างแพง
นอกเหนือจากยาที่ใช้รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังโดยตรงแล้ว ยังอาจใช้ยาอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้อุจจาระร่วง หรือยาบรรเทาปวด

การผ่าตัดสำหรับโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังประมาณร้อยละ 10-20 อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดลำไส้บริเวณที่มีการอักเสบ ถือเป็นการรักษาที่ทำให้หายขาดจากโรคได้ อย่างไรก็ตาม แพทย์จะพิจารณาให้การผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเท่านั้น ได้แก่
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและไม่ตอบสนอง
ต่อการรักษาด้วยยาดังกล่าวข้างต้น
ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
เช่น ลำไส้โป่งพอง เลือดออก ลำไส้ตีบหรือทะลุ
ผู้ป่วยที่สงสัยโรคมะเร็งลำไส้
ผู้ป่วยที่มีการดำเนินโรคแบบเรื้อรังและต้องใช้ยาสเตียรอยด์
เป็นเวลานาน และไม่สามารถทนต่ออาการข้างเคียง
จากสเตียรอยด์ได้